ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน
(Water
Quality Index : WQI)
การรายงานผลคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินให้กับประชาชนทั่วไปได้เข้าใจ
สนใจ รวมถึงความต้องการมีส่วนร่วมด้วยนั้นการรายงานดังกล่าวควรง่ายต่อการเข้าใจ
และสามารถจินตนาการหรือเปรียบเทียบได้ตามความคุ้นเคยของประชาชนทั่วไปเช่น
การบอกว่าขนาดของดวงอาทิตย์
=
1.390 x
109เมตร
และขนาดของโลก
=
1.276 x
107เมตร
ทุกคนเข้าใจว่าดวงอาทิตย์ใหญ่กว่าโลกแต่ในขณะเดียวกันทุกคนก็จินตนาการหรือเปรียบเทียบขนาดของดวงอาทิตย์กับโลกตามความรู้
ความคุ้นเคยของแต่ละบุคคล
รวมถึงไม่สามารถจินตนาการได้เลย
ถ้าเพิ่มเติมวิธีการสื่อสารว่า
ดวงอาทิตย์มีขนาดราวลูกบาสเก็ตบอล
โลกก็จะมีขนาดราวหัวเข็มหมุด
นอกจากความรู้
ความเข้าใจที่มากขึ้นแล้วความน่าสนใจหรือการกระตุ้นความอยากรู้ที่เพิ่มขึ้นก็จะตามมา
ดังนั้นการรายงานผลคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน
จึงหาวิธีการหรือการประเมินผลคุณภาพน้ำที่สามารถสื่อสารกับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ให้รู้
เข้าใจรวมถึงจินตนาการได้ตามความรู้ที่ประชาชนส่วนใหญ่คุ้นเคย
ซึ่งวิธีการหรือการประเมินผลคุณภาพน้ำดังกล่าวคือการประเมินผลคุณภาพน้ำโดยใช้
ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน
(Water
Quality Index:WQI)„
ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (WQI) เป็นดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไปที่บ่งบอกสภาพของแม่น้ำโดยทั่วไป
โดยมิได้ระบุว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
เช่นเดียวกัน
การบอกสภาพร่างกายของคนว่าสมบูรณ์แข็งแรง
หรือป่วยแค่ไหนแต่มีได้ชี้ให้เห็นโดยตรงว่า
คนที่มีอาการอย่างนั้นจะทำอะไรได้บ้าง
(ซึ่งคนป่วยไม่มากก็ยังทำงานบางอย่างได้)
โดยเหตุนี้เราจึงเรียกว่า
ดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป
(General
Water Quality Index) ใช้ในการบอกระดับคุณภาพน้ำว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ดี พอใช้ เสื่อมโทรมหรือเสื่อมโทรมมาก
Unweighted
Multiplicative River Water Quality Index เป็นวิธีใช้ในการเผยแพร่ให้ความรู้ทางด้านคุณภาพน้ำแก่สาธารณชนทราบ
ด้วยคำที่ง่าย
วิธีการรวบรัด
ไม่สลับซับซ้อนซึ่งใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกา
และเป็นวิธีหนึ่งที่ถูกใช้ในการจัดทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา
(พัฒนาโดย Brown,
R.M., et al. 1970) การสร้างเครื่องมือในการการประเมินคุณภาพน้ำดังกล่าวมีการกำหนดวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อให้ผู้บริหารและประชาชนซึ่งไม่มีพื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจสภาพปัญหาคุณภาพน้ำที่เกิดขึ้นอย่างง่าย
มีคะแนนเต็ม 100
คะแนน
ได้แก่
คุณภาพน้ำดีมาก
ดี พอใช้ เสื่อมโทรม
และเสื่อมโทรมมาก
2. ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (WQI) ควรสัมพันธ์หรือมีความสอดคล้องกับมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดิน
เพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้ร่วมกัน
จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงพัฒนาเครื่องมือในการประเมินคุณภาพน้ำโดยรวม
คือ ดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน(WQI) โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดพารามิเตอร์
หลักการในการกำหนดพารามิเตอร์ได้แก่
ค่าในมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน
สามารถประเมินประเภทแหล่งน้ำผิวดินได้
ค่าคุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อมลพิษทางน้ำ
พารามิเตอร์มีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหามากขึ้น
จากหลักการดังกล่าวข้างต้นจึงได้พิจารณากำหนด
5 พารามิเตอร์ที่มีค่าอยู่ในมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินดังนี้
ค่าออกซิเจนละลาย(Dissolved
Oxygen, DO) ค่าความสกปรกในรูปของสารอินทรีย์(Biological
Oxygen Demand, BOD) ค่าการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด(Total
Coliform Bacteria , TCB) ค่าการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม(Fecal
Coliform Bacteria, FCB) ค่าแอมโมเนีย(NH3-N)
2. เกณฑ์คุณภาพน้ำ
ตามช่วงค่าคะแนน
การกำหนดเกณฑ์คุณภาพน้ำตามช่วงคะแนน
มาจากการเทียบช่วงคะแนน WQI กับค่ามาตรฐานตามประเภทแหล่งน้ำผิวดิน(เป็นช่วงค่าคะแนนเดิมในการทำWQIช่วงปี2538-2542และมีการปรับปรุงปี
2553)
เกณฑ์คุณภาพน้ำ |
คะแนนรวม |
เทียบได้กับมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภท |
สีแสดงคุณภาพน้ำ |
ดีมาก |
91
-
100 |
2 |
|
ดี |
71
-
90 |
2 |
|
พอใช้ |
61
-
70 |
3 |
|
เสื่อมโทรม |
31
- 60 |
4 |
|
เสื่อมโทรมมาก |
0
- 30 |
5 |
|
3. การคิดคะแนน
WQI ค่า 0 - 100 เทียบกับค่าความเข้มข้นของแต่ละพารามิเตอร์
ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย 1) ข้อมูลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินทั่วประเทศ
เป็นระยะเวลา
10
ปี 2) การเทียบช่วงคะแนน
WQI
กับค่ามาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่
2 3 4 และ5 และ
3) ความสามารถในการละลายของออกซิเจนละลายในน้ำจืด
ณ ความดัน 1
บรรยากาศ จากการใช้ข้อมูลดังกล่าวสามารถสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนน
WQI กับค่าความเข้มข้นของแต่ละพารามิเตอร์เป็นดังนี้
3.1) ค่าออกซิเจนละลาย(Dissolved
Oxygen, DO)
3.5)
ค่าแอมโมเนีย(NH3-N)
4. การรวมคะแนนของแต่ละพารามิเตอร์
ให้เป็นคะแนนเดียว
ในแต่ละการตรวจวัด
หลักการในการพิจารณาหาสูตรคือ
ค่าคะแนนรวมที่ได้เมื่อแปรผลแล้วตรงหรือใกล้เคียงกับประเภทแหล่งน้ำผิวดินในแต่ละจุดตรวจวัดที่ตรวจวัดจริง
โดยทำการทดลองหาสูตรที่เหมาะสมได้ผลดังนี้
ค่า WQI (คะแนนรวม)
= ค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้ง
5พารามิเตอร์
ค่าการปรับความถูกต้องของคะแนน*
สรุป
จากวิธีการหลักการและขั้นตอนในการคิดค่า
WQI นั้นในอนาคตสามารถเพิ่มพารามิเตอร์อื่นเข้าร่วมในการคิดค่า
WQI ได้หากมีพารามิเตอร์ที่เหมาะสม
ตามหลักการในการกำหนดพารามิเตอร์ดังกล่าว
ค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
ลำดับ |
คุณภาพน้ำ 2/ |
ค่าทางสถิติ |
หน่วย |
การแบ่งประเภทคุณภาพน้ำตามการใช้ประโยชน์ 1/ |
||||
ประเภท 1 |
ประเภท 2 |
ประเภท 3 |
ประเภท 4 |
ประเภท 5 |
||||
1.
|
สี
กลิ่นและรส
(Colour, Odour and Taste) |
|
- |
ธ |
ธ‘ |
ธ‘ |
ธ‘ |
- |
2.
|
อุณหภูมิ (Temperature) |
|
°
ซ |
ธ |
ธ‘ |
ธ‘ |
ธ‘ |
- |
3.
|
ความเป็นกรดและด่าง (pH) |
|
- |
ธ |
5.0-9.0 |
5.0-9.0 |
5.0-9.0 |
- |
4.
|
ออกซิเจนละลาย
(DO) |
P
20 |
มก./ล. |
ธ |
<6.0 |
<4.0 |
<2.0 |
- |
5.
|
บีโอดี
(BOD) |
P
80 |
มก./ล. |
ธ |
>1.5 |
>2.0 |
>4.0 |
- |
6.
|
แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total
Coliform Bacteria) |
P
80 |
เอ็ม.พี.เอ็น /100 มล. (MPN/100 ml) |
ธ |
>5,000 |
>20,000 |
- |
- |
7.
|
แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fetal Coliform Bacteria) |
P
80 |
„ |
ธ |
>1,000 |
>4,000 |
- |
- |
8.
|
ไนเตรต
(NO3) ในหน่วยไนโตรเจน |
|
มก./ล. |
ธ |
มีค่าไม่เกินกว่า „ „ „ „ „ „ „ „ „ „ „ „ |
5.0 |
- |
|
9.
|
แอมโนเนีย
(NH3) ในหน่วยไนโตรเจน |
|
„ |
ธ |
0.5 |
- |
||
10.
|
ฟีนอล
(Phenols) |
|
„ |
ธ |
0.005 |
- |
||
11.
|
ทองแดง
(Cu) |
|
„ |
ธ |
0.1 |
- |
||
12.
|
นิคเกิล (Ni) |
|
„ |
ธ |
0.1 |
- |
||
13.
|
แมงกานีส
(Mn) |
|
„ |
ธ |
1.0 |
- |
||
14.
|
สังกะสี
(Zn) |
|
„ |
ธ |
1.0 |
- |
||
15.
|
แคดเมียม
(Cd) |
|
„ |
ธ |
0.005* 0.05** |
- |
||
16.
|
โครเมียมชนิดเฮ็กซาวาเล้นท์
(Cr hexavalent) |
|
„ |
ธ |
0.05 |
- |
||
17.
|
ตะกั่ว
(Pb) |
|
„ |
ธ |
0.05 |
- |
||
18.
|
ปรอททั้งหมด
(Total Hg) |
|
„ |
ธ |
0.002 |
- |
||
19.
|
สารหนู
(As) |
|
„ |
ธ |
0.01 |
- |
||
20.
|
ไซยาไนด์ (Cyanide) |
|
„ |
ธ |
0.005 |
- |
||
21.
|
กัมมันตภาพรังสี
(Radioactivity) -
ค่ารังสีแอลฟา (Alpha) -
ค่ารังสีเบตา (Beta) |
|
เบคเคอเรล/ล. „ |
ธ ธ |
มีค่าไม่เกินกว่า „ „ „ „ |
0.1 1.0 |
- - |
|
22.
|
สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ชนิดที่มีคลอรีนทั้งหมด
(Total Organochlorine Pesticides) |
|
มก./ล. |
ธ |
0.05 |
- |
||
23.
|
ดีดีที (DDT) |
|
ไมโครกรัม/ล. |
ธ |
1.0 |
- |
||
24.
|
บีเอชซีชนิดแอลฟา
(Alpha-BHC) |
|
ไมโครกรัม/ล. |
ธ |
มีค่าไม่เกินกว่า „ „ „ |
0.02 |
- |
|
25.
|
ดิลดริน (Dieldrin) |
|
„ |
ธ |
0.1 |
- |
||
26.
|
อัลดริน (Aldrin) |
|
|
|
0.1 |
|
||
27.
|
เฮปตาคลอร์และเฮปตาคลออีปอกไซด์ (Heptachlor & Heptachlor epoxide) |
|
„ |
ธ |
0.2 |
- |
||
28.
|
เอนดริน
(Endrin) |
|
„ |
ธ |
ไม่สามารถตรวจพบได้ตามวิธีการตรวจสอบที่กำหนด |
- |
แหล่งที่มาของข้อมูล
: ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่
8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. 2535 เรื่อง
กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป
เล่ม
111 ตอนที่
16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537
หมายเหตุ
1/ แบ่งประเภทแหล่งน้ำผิวดิน
ประเภทที่ 1 ได้แก่ แหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำมีสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากน้ำทิ้งจากกิจกรรมทุกประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
(1)
การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติก่อน
(2)
การขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตระดับพื้นฐาน
(3)
การอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำ
ประเภทที่ 2
ได้แก่แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
(1)
การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุง คุณภาพน้ำทั่วไปก่อน
(2)
การอนุรักษ์สัตว์น้ำ
(3)
การประมง
(4)
การว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ
ประเภทที่ 3 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
(1)
การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ และผ่านกระบวนการปรับปรุง คุณภาพน้ำทั่วไปก่อน
(2)
การเกษตร
ประเภทที่ 4 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
(1)
การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษก่อน
(2)
การอุตสาหกรรม
ประเภทที่ 5 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการคมนาคม
2/ กำหนดค่ามาตรฐานเฉพาะในแหล่งน้ำประเภทที่ 2-4 สำหรับแหล่งน้ำประเภทที่
1 ให้เป็นไปตามธรรมชาติ และแหล่งน้ำประเภทที่ 5 ไม่กำหนดค่า
ธ เป็นไปตามธรรมชาติ
ธ‘
อุณหภูมิของน้ำจะต้องไม่สูงกว่าอุณหภูมิตามธรรมชาติ เกิน 3 องศาเซลเซียส
* น้ำที่มีความกระด้างในรูปของ CaCO3 ไม่เกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร
** น้ำที่มีความกระด้างในรูปของ CaCO3 เกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร
< ไม่น้อยกว่า
> ไม่มากกว่า
°ซ องศาเซลเซียส
P 20 ค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20 จากจำนวนตัวอย่างน้ำทั้งหมดที่เก็บมาตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
P 80 ค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 80 จากจำนวนตัวอย่างน้ำทั้งหมดที่เก็บมาตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
มก./ล. มิลลิกรัมต่อลิตร
มล. มิลลิลิตร
MPN เอ็ม.พี.เอ็น หรือ Most Probable
Number
เกณฑ์การเตือนภัยคุณภาพน้ำของสถานีอัตโนมัติ
เกณฑ์การเตือนภัย |
ออกซิเจนละลาย : DO (mg/l) |
การนำไฟฟ้า : EC (µS/cm) |
ความเค็ม : Sal (ppt) |
ปกติ |
3 - 12 |
< 1,000 |
< 0.5 |
เฝ้าระวัง |
1 - < 3 หรือ > 12 - 20 |
> 1,000 - 4,000 |
> 0.5 - 2.0 |
วิกฤต |
< 1 หรือ > 20 |
> 4,000 |
> 2.0 |