พบข้อมูลสถานีตรวจวัดอัตโนมัติ____แห่ง จุดตรวจ____แห่ง
ที่ | ภาค | สสภ. | จังหวัด | ลุ่มน้ำ | แหล่งน้ำ | ลุ่มน้ำย่อย | วันที่ตรวจ | สถานะ | คุณภาพน้ำ |
|||||||
pH | DO | EC | Temp | Turb | BOD | NH3 | Salinity | |||||||||
1 | เหนือ | สสภ. 12 | เชียงใหม่ | ลุ่มน้ำ 20 | แหล่งน้ำ 1 | ลุ่มน้ำย่อย 1 | 15 พค 2560 | ปรกติ | ||||||||
2 | เหนือ | สสภ. 12 | เชียงใหม่ | ลุ่มน้ำ 20 | แหล่งน้ำ 1 | ลุ่มน้ำย่อย 1 | 15 พค 2560 | ปรกติ | ||||||||
3 | เหนือ | สสภ. 12 | เชียงใหม่ | ลุ่มน้ำ 20 | แหล่งน้ำ 1 | ลุ่มน้ำย่อย 1 | 15 พค 2560 | ปรกติ |
เกณฑ์มาตรฐาน | pH | DO | EC | Temp | Turb | BOD | NH3 | Salinity | |
ปกติ | =19 | =3 | =119 | =29 | 6 และ 9 | =30 | =4 | =1 | |
เฝ้าระวัง | 19.01-20.0 | 2.0-2.9 | 119.1-120.0 | 29.1-30.0 | 5.5-6.0 | 39.1-40.0 | 4.01-5.00 | 1.1-2.0 | |
วิกฤต | 20 | 2 | 120 | 30 | 5.5 และ 9 | 40 | 5 | 2 |
? คำอธิบายพารามิเตอร์
พบข้อมูลสถานีตรวจวัดอัตโนมัติ____แห่ง จุดตรวจ____แห่ง
ที่ | ภาค | สสภ. | จังหวัด | ลุ่มน้ำ | แหล่งน้ำ | ลุ่มน้ำย่อย | วันที่ตรวจ | สถานะ | คุณภาพน้ำ |
|||||||
pH | DO | EC | Temp | Turb | BOD | NH3 | Salinity | |||||||||
1 | เหนือ | สสภ. 12 | เชียงใหม่ | ลุ่มน้ำ 20 | แหล่งน้ำ 1 | ลุ่มน้ำย่อย 1 | 15 พค 2560 | ปรกติ | ||||||||
2 | เหนือ | สสภ. 12 | เชียงใหม่ | ลุ่มน้ำ 20 | แหล่งน้ำ 1 | ลุ่มน้ำย่อย 1 | 15 พค 2560 | ปรกติ | ||||||||
3 | เหนือ | สสภ. 12 | เชียงใหม่ | ลุ่มน้ำ 20 | แหล่งน้ำ 1 | ลุ่มน้ำย่อย 1 | 15 พค 2560 | ปรกติ |
เกณฑ์มาตรฐาน | pH | DO | EC | Temp | Turb | BOD | NH3 | Salinity | |
ปกติ | =19 | =3 | =119 | =29 | 6 และ 9 | =30 | =4 | =1 | |
เฝ้าระวัง | 19.01-20.0 | 2.0-2.9 | 119.1-120.0 | 29.1-30.0 | 5.5-6.0 | 39.1-40.0 | 4.01-5.00 | 1.1-2.0 | |
วิกฤต | 20 | 2 | 120 | 30 | 5.5 และ 9 | 40 | 5 | 2 |
พารามิเตอร์ | ค่าล่าสุด | ค่าเฉลี่ย | ค่าสูงสุด | ค่ากลาง | ค่าเปอร์เซ็นไทล์ |
pH | |||||
DO | |||||
EC | |||||
Temp | |||||
Turb | |||||
BOD | |||||
NH3 | |||||
Salinity |
1. ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen : DO) ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำเป็นดัชนีสำคัญที่สุดชนิดหนึ่งที่ใช้ในการกำหนดคุณภาพน้ำในแหล่งผิวดิน มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm หรือปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 5-8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 5-8 ppm น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm
2. อุณหภูมิน้ำและอุณหภูมิอากาศ (Water Temperature and Air Temperature) อุณหภูมิของน้ำมีผลในด้านการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งจะส่งผลต่อการลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ
3. ความเป็นกรด – ด่าง (pH) pH แสดงความเป็นกรดหรือด่างของน้ำ( น้ำดื่มควรมีค่า pH ระหว่าง 6.8-7.3) โดยทั่วไปน้ำที่ ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีค่า pH ที่ต่ำ (PH < 7) ซึ่งหมายถึงมีความเป็นกรดสูงมีฤทธิ์กัดกร่อน การวัดค่า pH ทำได้ง่าย โดยการใช้กระดาษลิตมัสในการวัดค่าความเป็นกรด – เบส ซึ่งให้สีตามความเข้มข้นของ [H+] หรือการวัดโดยใช้ pH meter เมื่อต้องการให้มีความละเอียดมากขึ้น สภาพเบส (alkalinity) คือสภาพที่น้ำมีสภาพความเป็นเบสสูงจะประกอบด้วยไอออนของ OH-, CO3- , H2CO3ของธาตุแคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม หรือแอมโมเนีย ซึ่งสภาพเบสนี้จะช่วยทำหน้าที่คล้ายบัฟเฟอร์ต้านการเปลี่ยนแปลงค่า pH ในน้ำทิ้ง สภาพกรด ( acidity) โดยทั่วไปน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชนจะมีบัฟเฟอร์ในสภาพเบสจึงไม่ทำให้น้ำมีค่า pH ที่ต่ำเกินไป แต่น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีค่า pH ต่ำกว่า 4.5 ซึ่งมาจาก CO2 ที่ละลายน้ำ
4. การนำไฟฟ้า (Conductivity) และความเค็ม (Salinity) การนำไฟฟ้า (electical conductivity) บอกถึงความสามารถของน้ำที่กระแสไฟฟ้าสามารถไหล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของอิออนโดยรวมในน้ำ และอุณหภูมิขณะทำการวัดค่าการนำไฟฟ้า ความเค็มของน้ำ หมายถึง ปริมาณของแข็ง (Solid) หรือเกลือแร่ต่าง ๆ โดยเฉพาะโซเดียมคล ไรค์ (NaCL) ที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยมีหน่วยเรียกว่า (parts per thousand) ppt ค่าความเค็มของน้ำจะสัมพันธ์กับค่า Chlorinity ประกอบด้วยปริมาณ คลอไรค์, โบรไมค์และไอโอไดด์ และความนำไฟฟ้า(conductivity) ที่มีอยู่ในน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัมความเค็มของน้ำจะแตกต่างตามสถานที่และประเภทของดิน มีผู้แบ่งประเภทน้ำตามระดับความเค็มดังนี้ - น้ำจืด (fresh water) ความเค็มระหว่าง 0-0.5 ppt - น้ำกร่อย (brackish water) ความเค็มระหว่าง 0.5-30 ppt - น้ำเค็ม (sea water) ความเค็มมากกว่า 30 ppt ขึ้นไป
5. ความกระด้าง (Hardness) ความกระด้าง (hardness) เป็นการไม่เกิดฟองกับสบู่และเมื่อต้มน้ำกระด้างนี้จะเกิดตะกอน น้ำกระด้างชั่วคราว เกิดจากสารไบคาร์บอเนต (CO32-) รวมตัวกับ ไอออนของโลหะเช่น Ca2+, Mg2+ ซึ่งสามารถแก้ได้โดยการต้ม นอกจากนี้แล้วยังมีความกระด้างถาวรซึ่งเกิดจากอิออนของโลหะและสารที่ไม่ใช่พวกคาร์บอเนต เช่น SO42-- ,NO3- , CI- รวมตัวกับ Ca2+, Fe2+,Mg2+เป็นต้น
6. ความขุ่น (Turbidity) เกิดจากสารแขวนลอยในน้ำ เช่น ดิน ซากพืช ซากสัตว์ เกณฑ์ความขุ่นของแหล่งน้ำทั่วไป คือ น้อยกว่า 100 NTU
7. ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids : SS) ของแข็งทั้งหมด (Total Solids : TS) และของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำ (Total Dissolved Solids : TDS) ของแข็งทั้งหมด (total solid: TS) คือ ปริมาณของแข็งในน้ำ สามารถคำนวณจากการระเหยน้ำออก ได้แก่ ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids: TDS) จะมีขนาดเล็กผ่านขนาดกรองมาตรฐาน คำนวณได้จากการระเหยน้ำที่กรองผ่านกระดาษกรองออกไป ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids: SS) หมายถึง ของแข็งที่อยู่บนกระดาษกรองมาตรฐานหลังจากการกรอง แล้วนำมาอบเพื่อระเหยน้ำออก
8. ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand : BOD) บีโอดี (biological oxygen demand) เป็นปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่าบีโอดีสูงมากแสดงว่าน้ำนั้นเน่ามาก แหล่งน้ำที่มีค่าบีโอดีสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตรจะจัดเป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย พระราชบัญญัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดไว้ว่า น้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่าบีโอดีไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร
9. ปริมาณรวมของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria : TCB) ตามมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินกำหนดให้แหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ในการผลิตน้ำ ประปา รวมทั้งสามารถว่ายน้ำและเล่นกีฬาทางน้ำได้ ไม่ควรมีค่าปริมาณรวมของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มเกินกว่า 5,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มล. (มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ) ขณะที่แหล่งน้ำที่เหมาะสมจะอนุรักษ์ไว้เพื่อใช้สำหรับกิจกรรมการเกษตรไม่ควรมีค่าปริมาณรวมของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มเกินกว่า 20,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มล. (มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3)
10. ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria : FCB) ตามมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินกำหนดให้แหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ในการผลิตประปา รวมทั้งสามารถว่ายน้ำและเล่นกีฬาทางน้ำได้ ไม่ควรมีค่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มเกินกว่า 1,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มล. (มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ) ขณะที่แหล่งน้ำที่เหมาะสมจะอนุรักษ์ไว้เพื่อใช้สำหรับกิจกรรมการเกษตรไม่ควรมีค่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มเกินกว่า 4,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มล. (มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3)
11. สารประกอบไนโตรเจน น้ำธรรมชาติที่มีปริมาณไนโตรเจนอินทรีย์และแอมโมเนียไนโตรเจนที่สูงมาก แต่มีไนเตรท-ไนโตรเจนในปริมาณที่น้อยจัดเป็นน้ำที่มีคุณภาพไม่ดีและไม่ปลอดภัยต่อการอุปโภคบริโภคเพราะแสดงว่าน้ำนั้นได้เกิดมลพิษมาก่อนแล้ว แต่ถ้าน้ำนั้นมีไนเตรท-ไนโตรเจนเพียงเล็กน้อย และไม่มีไนโตรเจนอินทรีย์กับแอมโมเนีย-ไนโตรเจนเลยจัดเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี
12. ฟอสฟอรัสทั้งหมด (Total Phosphorus : TP) ฟอสฟอรัส ในน้ำจะอยู่ในรูปของสารประกอบพวก ออร์โธฟอสเฟต (Orthophosphate) เช่นสาร PO43-, HPO42- , H2 PO4- และ H3PO4 นอกจากนี้ยังมีสารพวกโพลีฟอสเฟต
13. โลหะหนัก มีทั้งที่เป็นพิษและไม่เป็นพิษ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ ถ้ามากเกินไปจะเป็นพิษ ได้แก่ โครเมียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีสและสังกะสี บางชนิดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ แคดเมียม ตะกั่ว ปรอทและนิกเกิล
14. สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ชนิดที่มีคลอรีนทั้งหมด